วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกกล้ววยไม้หางกระรอก

หางกระรอกแดง มี 2 สายพันธุ์ แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักและนิยมปลูกประดับกันอย่างแพร่หลายมาช้านานคือ ชนิดที่เป็นไม้พุ่ม ต้นสูง 1-3 เมตร ใบมีขนาดใหญ่ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกตัวเมียสีแดงไม่มีกลีบดอก ปลายเกสรตัวเมียเป็นพู่สีแดงยาวคล้ายหางกระรอก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า หางกระรอกแดง ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจาก หมู่เกาะเวสต์อินดิส เป็นไม้ที่ชอบความชุ่มชื้น เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร มีดอกให้ชื่นชมตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งและตอนกิ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ACALYPHA  HISPIDA BUMM. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ชื่ออื่นๆที่ถูกเรียกในประเทศไทยคือ หางแมว (ภาคกลาง) หูปลาช่อน (ราชบุรี) เกี้ยวเกล้า, ไหมพรม (ภาคเหนือ)
ส่วน “หางกระรอกแดงเลื้อย” เป็นไม้จากต่างประเทศเช่นกัน  แต่ไม่มีบันทึกว่ามาจากประเทศอะไร ถูก นำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า  30  ปีแล้ว โดยในสมัยนำเข้าใหม่ๆได้รับความนิยม จากผู้ปลูกพอประมาณ แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากลักษณะสายพันธุ์เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ผู้ ปลูกไม่รู้จะปลูกประดับอย่างไร เลยทำให้ “หางกระรอกแดงเลื้อย” หายหน้าหายตาไปจากวงการไม้ดอกไม้ประดับระยะหนึ่ง
ปัจจุบัน พบมีผู้ขยายพันธุ์ออกวางขายอยู่ โดยนำต้น “หางกระรอกแดงเลื้อย” ปลูกลงกระถางแขวน ปล่อยให้ต้นหรือเถาเลื้อยเส้นลวดที่ใช้แขวนแต่ละต้นแต่ละกระถางแตกกิ่งก้านและมีดอกดกสีสันสวยงามน่ารักมาก ซึ่งผู้ขายบอกว่า เมื่อนำ “หางกระรอกแดงเลื้อย” ปลูกลงกระถางแขวนแล้วสามารถเรียกความสนใจผู้ซื้อได้ดีในเวลานี้
หางกระรอกแดงเลื้อย เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ประมาณ 0.1-1 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว ใบเป็นรูปพัดจีน หรือรูปกลมรี ขอบจักเป็นฟันเลื่อย สีเขียวสด เวลาใบดกน่าชมยิ่งนัก
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอก หรือรูปทรงของดอกเหมือนกับดอกหางกระรอกแดง ชนิดที่เป็นไม้พุ่มทุกอย่าง แต่ขนาดของดอกชนิดต้นเลื้อยจะสั้นกว่าอย่างชัดเจน เส้นผ่า ศูนย์กลางของดอกจะกว้างกว่าเล็กน้อย จะทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ  แผงตรงกันข้ามกับโครงการ 13 ราคาสอบถามกันเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น