การปลูก


การปลูกดอกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้
          นื่องจากในรอบปีแต่ละปีนั้น  มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตาม  และความชุ่มชื้นก็ตาม 
  อัตราการเจริญของกล้วยไม้ต่างๆในแต่ละฤดูกาล   ก็มีความสอดคล้องกับบทบาท
การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล  เช่นเดียวกันกับพันธุ์ไม้อื่นๆ  ประเทศไทยตั้งอยู่ค่อนมาทาง
เหนือของเส้นศูนย์สูตร   (equator)   ของโลก    ซึ่งมีผล กำหนดลักษณะฤดูกาลไว้อย่างแน่ชัด
 การปลูกและการขยายพันธุ์ ไม้ควรยึดหลักปฏิบัติในระยะต้นๆของฤดูเจริญเติบโต   เพื่อให้ 
กล้วยไม้ได้มีโอกาสตั้งตัวและเจริญแข็งแรงดี   ก่อนถึงฤดูกาลที่กล้วยไม้จะต้องมีการเจริญช้าลง  
หรือบางชนิดก็พักตัว  ฤดูเจริญ เติบโตของกล้วยไม้เริ่มต้นระหว่างปลายฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนหรือ
ประมาณเดือนมีนาคม-มิถุนายนกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพซึ่งควรจะได้พิจารณาปลูกใหม่ ได้แก่  
กล้วยไม้ที่มีอายุมากอยู่ในสภาพทรุดโทรม   สมควรที่จะตัดแยก และปลูกใหม่  กล้วยไม้ที่
แตกกอขนาดใหญ่มากเกินไป หรืออยู่ในสภาพที่ระบบรากหมดอายุ     การตัดแยกปลูกใหม่
จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่กล้วยไม้ได้   นอกจากนั้น  การหาพันธุ์กล้วยไม้มาจาก
ธรรมชาติเพื่อนำมาปลูก   ก็ควรกระทำในฤดูนี้ด้วย    ภาชนะปลูกอาจใช้กระถางดินเผา  
หรือกระเช้าไม้ แล้วแต่ความเหมาะสม   หากเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศคือ   
มีรากใหญ่และโปร่ง  เช่น  กล้วยไม้หลายชนิดที่ขึ้นอยู่ตาม ต้นไม้ในธรรมชาติ   อาทิเช่น    
กล้วยไม้สกุลแวนดา   เป็นต้น   ควรใช้ภาชนะปลูกที่มีลักษณะโปร่ง    อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
ส่วนเครื่องปลูกก็ควรยึดหลักการเช่นเดียวกันคือ ใช้เครื่องปลูกที่โปร่ง  เช่น  ถ่านไม้  เป็นต้น  
ในสมัยก่อนได้เคยมีผู้นิยมใช้รากเฟิร์นบางชนิด    มีลักษณะเป็นเส้นสีดำเรียกกันว่า   
ออสมันดา(osmunda)      เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้กันอย่างแพร่หลาย ต่อมาออสมันดาหายาก
และมีราคาแพงยิ่งขึ้น  จึงได้มีการสนใจใช้กาบมะพร้าวแห้งเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้บางชนิด  
  ต่อมาในภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า    การใช้ถ่านไม้นับเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า  
จึงได้มีผู้นิยมมากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็มีผู้ซึ่งพยายามงดเว้นการใช้เครื่องปลูกใดๆทั้งสิ้น  
 สำหรับกล้วยไม้ประเภทที่ มีรากอากาศ  โดยให้รากเกาะอยู่ในภาชนะปลูกเท่านั้น     
ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่พอใจ      ทั้งจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับสภาพดังกล่าว
  เช่น  มีการให้น้ำและให้ปุ๋ยมากขึ้นกล้วยไม้เหมือนพันธุ์ไม้ที่พบทั่วๆไปทั้งหลาย  
 ซึ่งมีความต้องการน้ำ  ปุ๋ย   และการเลี้ยงดูตามสมควร
การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH 
ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่ง
ดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้นนอก
จากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็น
ต้องมีโรงเรือน
วิธีการปลูก                    
การล้างลูกกล้วยไม้    คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะ
แล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 
2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับ
ขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว 
              
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก
    ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือ
กระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว 
สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว 
ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ 
เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่ง
จับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง 
แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี 
กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น 
               
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่
    ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว
 ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้า
ให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ 
ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้า
เข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ 
สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป
 มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไป
แช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไป
ปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน 

                                                                                         

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น